วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

วันที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2564

วันนี้เป็นการจัดสัมมนาทางการศึกษาปฐมวัยซึ่งกลุ่มดิฉันได้จัดในหัวข้อเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้รู้สองภาษาด้วยสื่อสร้างสรรค์”ซึ่งดิฉันได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรในการจัดสัมมนาในครั้งนี้

โดยวิทยากรที่มาให้ความรู้ในวันนี้

ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ตุ๊หมาด (อ.บาส) และ ครูจิตติมา ใจทิม (ครูใหม่) โดยได้รับความรู้จากการสัมมนาดังนี้

ความหมายของภาษา

ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อ ความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร ผ่านคำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจา เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความ เข้าใจเพื่อสื่อความหมายกัน เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึกด้วยเสียงและภาพ โดยมี ระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด

ความสำคัญของภาษา

1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

 3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจ อันดีต่อกัน

 4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

 5. ภาษาเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย

การฟัง

การพูด

 การอ่าน

การเขียน

ความหมายของสื่อ

สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลาง ที่ครูนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมหรือทักษะที่ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด

ความสำคัญของสื่อ

1. เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความ สนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”

3. เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน

หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ

2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่

3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล หนัก-เบา

4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย

5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต สัมผัส ลงมือปฏิบัต

สิ่งที่ควรพิจารณาในการจัดกิจกรรมสื่อ/เทคโนโลยี 2 ภาษา

1.ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่อายุมากกว่าสองขวบขึ้นไป สามารถดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ ได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวันภายใต้การดูแลของผู้ปกครองหรือครู

2. เนื้อหาของสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เนื้อหาของสื่อสำหรับเด็กควรถูก คัดเลือกโดยครู หรือพ่อแม่ให้เหมาะสมตามวัยและตามความสามารถในการเรียนรู้ด้านภาษาของเด็ก

3. การมีปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เด็กเล็กต้องการกำลังใจ การพูดเสริม แนะนำด้วยถ้อยคำที่อบอุ่น เรียนรู้ไปด้วยกันระหว่างครอบครัว

และที่สำคัญยังได้รู้ประสบการณ์ในการสอนเด็กปฐมวัยการใช้สื่อ การสร้างสื่อจากวัสดุเหลือใช้ที่สามารถทำออกมาเป็นสื่อเพื่อเสริมพัฒนาการของเด็กไม่ว่าจะเป็นทักษะทางด้านภาษา คณิตศาสตร์ เป็นต้น

คำศัพท์

1.      Experience –ประสบการณ์

2.   Environment arrangementการจัดสภาพแวดล้อม

3.   Interesting toolsเครื่องมือเร้าความสนใจ

4.   Language is a means of communication. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

5.   Sustainจรรโลงจิตใจ

ภาพการจัดสัมมนา





















เกียรติบัตรการเข้าร่วมสัมมนา






ผู้บันทึก นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ

รหัสนักศึกษา 6011200612


วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 2เดือนเมษายน พ.ศ. 2564

ความรู้ที่ได้รับ

สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาปรึกษาหารือกับเพื่อนในกลุ่มตามหัวข้อสัมมนาเพื่อเตรียมการจัดสัมมนาโดยมีการเขียนโครงการของกลุ่มตัวเองส่วนประกอบในการจัดสัมมนาซึ่งประกอบด้วย

1.ลำดับขั้นตอนของการจัดงาน พิธีเปิด- ปิด

2.แบบทดสอบก่อน-หลัง การจัดสัมมนา

3.เกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนา

โดยมีหัวข้อการจัดสัมมนาดังนี้

1.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สื่อสร้างสรรค์

 2.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล เกมการศึกษา

3.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลเทคโนโลยี

4.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล บ้านนักวิทย์

5.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ภาษาที่สองสำหรับเด็กปฐมวัย

6.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ด้วยกราฟฟิค

7.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ด้วย CODING

ฝึกทักษะอะไร

ทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน

การนำไปใช้

สามารถนำไปเป็นตัวอย่างการเขียนโครงการในครั้งต่อไป

คำศัพท์

1.         seminar – สัมมนา

2.      Solve the problemแก้ปัญหา

3.      Application – การประยุกต์

4.      Workshopอบรมเชิงปฏิบัติการ

5.      Project – โครงการ

ภาพโครงร่างและลำดับขั้นตอนพิธีการสัมมนา



ผู้บันทึก นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ

รหัสนักศึกษา 6011200612



 

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วันที่ 12เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564

งดการเรียนการสอนเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษระหว่างวันที่ 8-14 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564



 

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วันที่ 5 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564

งดการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจของมหาวิทยาลัย

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันที่ 26 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

งดการเรียนการสอนเนื่องจาก วันมาฆบูชา



 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

งดการเรียนการสอนเนื่องจากวันตรุษจีน




ผู้บันทึก นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ

รหัสนักศึกษา 6011200612

 

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่ 23เดือน เมษายน พ.ศ.2564

ความรู้ที่ได้รับ

สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการคุยเนื้อหาที่จะจัดสัมมนาในครั้งต่อไป ซึ่งมีการปรึกษาแบ่งหน้าที่เพื่อนในกลุ่มดังนี้ดังนี้

หัวข้อสัมมนา"เล่าสนุกฉุกจินตนาการ(นิทานเด็กปฐมวัย)"

หน้าที่มีดังนี้

1. นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ หัวหน้าโครงการ หน้าที่ วิทยากร

2. นางสาวตวงรัตน์ เจริญภาพ กรรมการ หน้าที่ ประสานงาน

3. นางสาวกัญญาภัค ดวงตาดำ กรรมการ หน้าที่ ประสานงาน

4. นางสาวภุมรินทร์ ภูมิอินทร์ กรรมการ หน้าที่ วิทยากร

5. นางสาวณัฏฐา กล้าการนา กรรมการ หน้าที่ พิธีกร

6. นางสาวนวรัตน์ ปิยางกูร กรรมการและผู้ช่วย หน้าที่ ประสานงาน

7. นางสาวรุ่งนภา ชัยลิ้นฟ้า เลขานุการ หน้าที่ พิธีกร

ภาพกิจกรรมในชั้นเรียน








ผู้บันทึก นางสาวอารีรัตน์ ไชยคำ เลขที่ 19

รหัสนักศึกษา 6011200612




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15 วันที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 วันนี้เป็นการจัด สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย ซึ่งกลุ่มดิฉันได้จัดในหัวข้อเรื่อง ...